ที่มาของชื่อบท คิริตสึโบะ ของ คิริตสึโบะ

คิริ (桐 - kiri ) นั้น มากจากชื่อต้นไม้ยืนต้นชนิดหนึ่งในภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า ต้นคิริ ( 桐 kiri) ในภาษาไทยเรียกว่า ต้นทัง ภาษาอังกฤษเรียกว่า เพาโลว์เนีย ( Paulownia )

ไม้สกุลเพาโลว์เนียเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ลำต้นสีเทาน้ำตาลหรือดำ เปลือกต้นเรียบเมื่อยังอ่อน แต่จะแตกเป็นร่องตามยาวเมื่อต้นแก่และเป็นโพรงภายใน

ใบ จะรวมอยู่เป็นพุ่มตรงปลายยอดคล้ายร่ม ใบส่วนใหญ่แตกแบบตรงกันข้ามเป็นคู่ๆ (opposite leaf let) กิ่งก้านแตกแบบ Pseudo-dichotomous ใบของต้นอ่อนจะมีขนาดใหญ่ ลักษณะใบกว้างรูปร่างคล้ายหัวใจ ปลายใบแหลม รูป elongale deltiod ovate หรือ cordate ovate ใบมีความยาวประมาณ 24 เซนติเมตร กว้าง 20 เซนติเมตร ก้านใบยาวมีขนอ่อนๆ เต็มไปหมด หูใบยาว ขอบใบหยักแบบฟันปลา ต้นแก่จะมีใบขนาดเล็กกว่าและขอบใบจะเรียบหรือเกือบเรียบมีขนปกคลุม ใบที่เกิดจากหน่อที่แข็งแรงจะมีขนน้อยกว่าใบที่เกิดจากกิ่งแขนงที่เจริญเต็มที่แล้ว และใบที่เกิดตามข้อต่ำๆ ของกิ่ง จะมีขนน้อยกว่าข้อที่อยู่สูงขึ้นไป ใบที่อยู่ใกล้ดอกจะมีขนมากที่สุด

ดอก เป็นช่อแบบ pedunculate หรือ subsessile ประกอบด้วยดอกเล็กๆ จำนวน 3-5 ดอก ช่อดอกอยู่ระหว่างกิ่งกับก้านใบ ดอกมีสีม่วงอ่อน เหลืองอ่อนและขาว ลักษณะเป็นกะเปาะตรงโคนยาวประมาณ 10 เซนติเมตร ดอกบานตรงปลายคล้ายรูปแตรมี 5 กลีบ เป็นรูปคลื่น เกสรตัวผู้มี 4 อัน อันใหญ่ 2 และเล็ก 2 อัน เส้นใยของดอกไม่เรียบยาวและกลม มีขน มีก้านเกสรยาว ดอกจะบานจากโคนไปปลายช่อ ดอกจะออกเมื่อมีอายุประมาณ 8-10 ปี ในถิ่นกำเนิดออกดอกในเดือนสิงหาคม ส่วนที่ปลูกในไทยปรากฏว่า ออกดอกราวเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม และบานในราวเดือนมีนาคมถึงเมษายน[1]


สึโบะ (壺 - tsubo) นั้น หมายถึง บริเวณสวนเล็กๆระหว่างหมู่ตึกในพระราชวัง

ดังนั้น คิริสึโบะ ชื่อบทที่ 1 ในตำนานเก็นจินั้น หมายถึง

1. บริเวณสวนที่มีต้นทังปลูกอยู่ ณ. ที่นี้เป็นชื่อเรียกตำหนักแห่งหนึ่ง ภายในพระราชวัง เฮอันเคียว

2. ชื่อเรียกแทนชื่อจริงของตัวละครที่ปรากฏอยู่ในเรื่อง และอาศัยอยู่ในตำหนักคิริ เช่น คิริสึโบะ โนะ โคอิ - นางกำนัลตำหนักคิริ ( kiritsubo no koi ) มารดาของเก็นจิ และ จักรพรรดิคิริสึโบะ พระราชบิดาของเก็นจิ